วันอังคารที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2557

Part 5.2 - Groove Special Administrative {Final part}

Part 5.2 - Groove Special Administrative
          หลังจากปี 150 (Part 5.1 - Groove Special Administrative Click!) เขตปกครองพิเศษกรู๊ฟก็ได้พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วมีการสร้างรถไฟใต้ดินเพื่อเชื่อมต่อกับสนามบินนานาชาติกรู๊ฟเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว และดึงดุดการลงทุน โดยมีประชาชนราวๆ 111,666 คนและมีภาคธุรกิจ 189,781 เพิ่มขึ้น 64.24% จากปี 150 โดยรายได้ที่ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งมีรายได้สูงเป็นลำดับที่ 8 ของเมืองที่มีการยกเว้นภาษีธุรกิจและการพนันถูกกฎหมาย
ภาพแสดงรายได้ตลอดช่วง 90 ปี ที่ผ่านมา (100 - 190)
ภาพแสดงที่ตั้งของเขตปกครองพิเศษกรู๊ฟโดยอยู่บริเวณกลางอ่าวกรู๊ฟ
ภาพโปสเตอร์ฉบับแรกหลังจากการพัฒนาพื้นที่เสร็จ โดยเรือสื่อถึงการจราจรทางน้ำที่มีปริมาณมากในอาณาเขตแห่งนี้

วันอาทิตย์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2557

Part 5.1 - Groove Special Administrative

Part 5.1 - Groove Special Administrative 
         เขตปกครองพิเศษกรู๊ฟเป็นเขตปกครองที่ตั้งขึ้นมาเมื่อปี 100 ก่อน (ปัจจุบัน  เดิมก่อนหน้านั้นเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ กลางเกาะในอ่าวล้านช้าง ซึ่งต่อมาทางรัฐบาลวัลเลตตาได้มีการนำข้อมูลอัตราความเครียดและความสุขของประชากรในเขต NVRNW โดยพบว่าประชาชนมีความเครียดเพิ่มขึ้นทางรับบาลจึงมีแนวคิดที่จะก่อตั้งเขตอนุญาตการพนันและปลอดภาษีให้กับบริษัทต่าง ๆ โดยได้เลือกพื้นที่บริเวณเกาะกรู๊ฟโดยใช้งบประมาณกว่า 20,000 ล้านบาทในการดำเนินโครงการซึ่งกำลังหารือกันในเรื่องของแหล่งเงินทุน

กราฟแสดงอัตราความเครียดและความสุขของประชากรในเขต NVRNW (ที่มาข้อมูล : บริษัทรถไฟวัลเลตตาเหนือ {ด้านตะวันตกเฉียงเหนือ})
         จากกราฟจะเห็นได้ว่าประชาชนมีความเครียดเพิ่มมากขึ้นและมีความสุขน้อยลง

แผนแม่บท 100 ปีในการพัฒนาพื้นที่เขตปกครองพิเศษกรู๊ฟ
พื้นที่สีน้ำเงิน   คือพื้นที่สำหรับจัดสรรที่ดินให้กับประชาชนแต่จำกัดในด้านความสูงของสิ่งปลูกสร้างโดย
                        ไม่เกิน 200 เมตร
พื้นที่สีแดง       คือพื้นที่สำหรับเขตธุรกิจและกิจการคาสิโน่ที่ถูกกฏหมาย
พื้นที่สีเหลือง   คือพื้นที่สำหรับเขตที่อยู่อาศัยหนาแน่น
พื้นที่สีเทา        คือพื้นที่จัดสรรให้กับประชาชน


วันอังคารที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557

Special Part 4 - Orta San Giulio City

Special Part 4 - Orta San Giulio City
         โอลตา ซาน จูลิโอหรือเรียกสั้นว่า โอลตา เป็นเมืองหลวงของจังหวัดล้านช้าง ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการ และศาลประจำจังหวัด โดยประชากรในเมืองนี้มีประมาณ 23,000 คน ซึ่งเป็นบุคคลที่มีคุณภาพการศึกษาที่สูง จึงทำให้เมืองนี้เกิดอาชญากรรมต่ำถึงขั้นไม่เกิดขึ้นเลยทีเดียว...

ภาพมุมสูงของเมือง
ภูมิประเทศที่ตั้งอยู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ จึงได้ชื่อว่า "สุดพายัพที่โอลตา"
ถ่ายจากนกพิราบเจ้าเก่า
สถิติการเกิดอาชญากรรมต่ำเพราะเมืองแห่งนี้ต้องการควบคุมปลอดภัยเพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับจังล้านช้าง
ศูนย์ราชการจังหวัดล้านช้างมีตึกทั้งหมด 12 ตึกกับดูแลประชากรประมาณ 1,500,000 คนและบริษัท NVRNW ได้ขอเช่าพื้นที่ตึกไว้ควบคุมการเดินรถของสาขาจังหวัดล้านช้าง
ศูนย์ราชการยามค่ำคืนดูวังเวงและเงียบเหงา

ภาพนครกับบ้านพักราชการยามค่ำคืน ที่สร้างเต็มเมืองโดยมีรูปแบบตึกที่คล้ายกัน

โปรดติดตามตอนต่อไป...




วันเสาร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2557

Part 4 - Sao Paulo City

Part 4 - Sao Paulo City
         และแล้วก็เดินทางมาถึงตอนที่ 4 อย่าเพิ่งเบื่อกันก่อนนะครับ เรามาดูเมืองเซาเปาลูฉบับวัลเลตตากันเลย
       เมืองเซาเปาลูเป็นเมืองหลวงของจังหวัดซัลวาดอร์แห่งภูมิภาควัลเลตตา เป็นเมืองศูนย์กลางธุรกิจและการปกครอง ทำให้เมืองแห่งนี้มีตึกระฟ้ามากมายซึ่งส่งผลทำให้เกิดมลภาวะสูง ทางนายกเทศมนตรีจึงมีแนวคิดที่จะสร้างสวนกลางเมืองบริเวณริมแม่น้ำ Tietê ซึ่งจะเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวเมืองอีกทั้งยังส่งเสริมการท่องเที่ยวเพราะเมืองแห่งนี้เน้นการทำธุรกิจจึงมีสถานที่ท่องเที่ยวน้อยมาก รวมทั้งยังมีปัญหารถติดอีกด้วย เมืองแห่งนี้มีประชากรประมาณ 215,000 คน มีรถไฟสาย NVR Lanchang Main Line ผ่านโดยมีสถานีรถไฟลูฟส์เป็นสถานีหลักของเมือง เมืองเซาเปาลูถูกจัดอันดับว่าเป็นเมืองทีมีรถติดมาเป็นลำดับที่ 20 ของวัลเลตตา...

วิดีโอแนะนำเมือง
ภาพที่ใช้ในการโปรโมทเมืองในงานมหกรรมการเงินวัลเลตตาครั้งที่ 1
แผนที่แสดงที่ตั้งของเมือง
ภาพเมืองมุมสูงโดยจ้างนกพิราบขึ้นไปถ่าย ^-^