วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

Part 8 - Niigata City

Part 8 - Niigata City
          เมืองนิงาตะตั้งอยู่ในจังหวัดซาราโกซา ในสมัยก่อนนั้นเป็นแค่เขตชานเมืองของเมืองคะนะซะวาเท่านั้น แต่ต่อมาได้เมื่อมีการขยายเขตเมืองและมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นจึงทำให้ในปี 159 ได้ยกระดับฐานะกลา่ยเป็น "เมืองนิงาตะ" ปัจจุบันนิงาตะมีประชากรราวๆ 244,620 คนซึ่งมากเป็นลำดับสองรองจากเมืองกัวลาลัมเปอร์อันเป็นเมืองหลวงของจังหวัดซาราโกซา รวมถึงยังเป็นเมืองที่มีเขตเศรษฐกิจใหญ่เป็นลำดับที่ 3 รองจากเมืองคะนะซะวาและกัวลาลัมเปอร์ นิงาตะมีเขตอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่างเมืองนิงาตะกับเขตปกครองพิเศษโอไดบะจึงทำให้นิงาตะเป็นศูนย์กลางภาคอุตสาหกรรมของจังหวัดอีกทั้งยังมีรายได้ต่อหัวสูงที่สุดภายในจังหวัดอีกด้วย
         
           นิงาตะเป็นเมืองที่ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำอะซาโนกะวะโดยทิศเหนือติดกับอวกาศ ทิศตะวันออกติดกับเขตปกครองพิเศษโอไดบะ ทิศใต้ติดกับนครกัวลาลัมเปอร์ และทิศตะวันตกติดกับเมืองคะนะซะวา ด้วยการที่ตั้งอยู่ปากแม่น้ำจึงทำให้ต้องมีการสร้างเขื่อนไว้คอยควบคุมการขึ้น-ลงของน้ำทะเลให้สมดุลย์กับน้ำจืดถ้าไม้งั้นก็คงจะไม่มีน้ำประปาใช้แน่ๆ โดยปลาที่มีรสชาติอร่อยก็อาศัยอยู่บริเวณปากแม่น้ำนี้เหมือนกัน
         
           เราไปดูกันเลยดีกว่าว่าเมืองนี้จะมีอะไรให้น่าค้นหาอีกบ้าง....
ภาพที่ใช้ในการโปสเตอร์ที่ใช้ในการโปรโมทนครนิงาตะครั้งนี้

แสดงที่ตั้งของเมืองทิศเหนือติดกับอวกาศ ทิศตะวันออกติดกับเขตปกครองพิเศษโอไดบะ ทิศใต้ติดกับนครกัวลาลัมเปอร์ และทิศตะวันตกติดกับเมืองคะนะซะวา

ภาพมุมสูงที่ถ่ายจากเครื่องบินที่ระดับความสูง 15,000 เมตร

วันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

Part 7 - Kanazawa City

Part 7 - Kanazawa City
          หลังจากที่ห่างหายไปนานเกือบ 2 เดือนเกือบจะ 3 เดือนวันนี้ผมจะมานำเสนอเมือง Kanazawa ซึ่งถือว่าเป็นตอนที่เจ็ดแล้ว
             
             Kanazawa หรือชื่อไทย "คะนะซะวา" เป็นนครที่ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำ Asanogawa มีประชากรราวๆ 150,000 คน ซึ่งถือว่าเป็นเมืองสุดท้ายก่อนจะเข้าสู่ภูมิภาค NNW ซึ่งผู้คนหลั่งไหลกันเข้ามาที่เมืองแห่งนี้เป็นจำนวนมากเพราะมีธุรกิจมาเปิดมากมายอีกทั้งยังเป็นทางผ่านก่อนที่จะเข้าสู่ภูมิภาค NNW และเป็นผลพวงมาจากการที่เมืองแห่งนี้ได้จัดงาน Money Expo ครั้งที่ 2 ต่อจากเมืองเซาเปาลูในปี 198 จึงทำให้เศรษฐกิจเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วถึงขั้นขาดแรงงานกันเลยทีเดียว เมืองแห่งนี้มีบรรยากาศที่ร่มรื่นตลอดปีเพราะอยู่ใกล้เทือกเขา Salvador และมีแม่น้ำไหลผ่านกลางเมืองจึงทำให้ประชากรมีอายุที่สูงมาก เรามาดูกันดีกว่าว่าเมืองแห่งนี้จะมีดีอะไรกันบ้าง....     
ภาพที่ใช้โปรโมทนคร Kanazawa ซึ่งจะมองเห็นฝั่งธุรกิจได้อย่างชัดเจนและยังเห็นสถานที่จัดงาน Money Expo ครั้งที่ 2 ในปี 198 (อาคารวงกลม)

ที่ตั้งของเมืองโดยทิศตะวันออกติดกับเมือง Niigata ทิศใต้ติดกับจังหวัด Nagano ทิศตะวันตกติดกับเทือกเขา Salvador และทิศเหนือติดกับอวกาศ


ภาพจากเครื่องบินในที่นี้จะเห็นแม่น้ำที่ไหลออกมาจากป่า ซึ่งก็คือแม่น้ำ Asanogawa ที่หล่อเลี้ยงประชากรของสองเมือง Kanazawa กับ Niigata ไว้จนถึงทุกวันนี้

วันศุกร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2557

Part 6 - Belo Horizonte City

Part 6 - Belo Horizonte City
          เมืองเบโลโอรีซอนชีเป็นเมืองใหญ่เป็นลำดับ 3 ของจังหวัดซัลวาดอร์มีประชากรราวๆ 138,590 คนและภาคธุรกิจ 173,986 โดยด้านทิศตะวันออกติดกับเทือกเขาซัลวาดอร์จึงทำให้มีอากาศที่อบอุ่นตลอดทั้งปี นักประวัติศาสตร์ท่านหนึ่งสัษนิฐานว่าเมืองแห่งนี้น่าจะก่อตั้งเมื่อปี 76  โดยมีการตรวจสอบโบสถ์เก่าแก่ซึ่งใช้ C-14 คำนวณหาอายุของวัตถุโบราณและได้ข้อสรุปดังกล่าว 

          หลังจากนั้นในปี 190 คณะกรรมการการกีฬาวัลเลตตาได้กำหนดให้มีการจัดงานมหกรรมกีฬาวัลเลตปิกครั้งที่ 1 ขึ้นโดยใช้เมืองแห่งนี้เป็นสถานที่จัดการแข่งขันในปี 192 โดยใช้สนาม Mineirão Arena เป็นสนามหลักซึ่งสามารถจุคนได้ 62,000 คน

          การเดินทางในเมืองส่วนมากจะใช้รถยนต์ส่วนตัวซึ่งทำให้เกิดปัญหารถติดในเขตเมือง ซึ่งทางนายกเทศมนตรีก็ได้มีการรณรงค์ให้ใช้ระบบขนส่งสาธารณะแต่ก็ไม่ค่อยเป็นผลสำเร็จนักเนื่องจากพื้นที่ให้บริการรถไฟยังไม่ครอบคลุมทั่วเมือง

          สถานีรถไฟหลักของเมืองคืือสถานี NVR Belo Horizonte Sta. ซึ่งมีสายรถไฟถึง 6 สายที่เชื่อมต่อกันที่สถานีนี้จึงทำให้มีผู้โดยสารราวๆ 231,750 คน/วัน ทางบริษัทรถไฟจึงสร้างห้าง NVR Belo Horizonte ให้สำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางเปลี่ยนขบวนได้ใช้จ่ายฆ่าเวลาซึ่งรายได้จากห้างคิดเป็น 81% ของรายได้จากสถานีแห่งนี้

ภาพที่ใช้ในการโปรโมทงานมหกรรมกีฬาวัลเลตปิกครั้งที่ 1 (192) ซึ่งจัดในหน้าร้อนโดยมีมาสคอตชื่อว่า บีโร ซึ่งเป็นกบและมีหยดน้ำ 1 สายเปรียบเสมือนมาดับร้อนในหน้าร้อนของเมือง

ตำแหน่งจากแผนที่ทิศเหนือติดกับอวกาศ ทิศตะวันตกติดกับเมืองเซาเปาลู ทิศใต้ติดกับนครริโอเดอจาเนโร และทิศตะวันออกติดกับเทือกเขาซัลวาเดอร์

 ตำแหน่งที่ตั้งของเมืองสังเกตุได้ว่ามีเทือกเขาซัลวาเดอร์กั้นอยู่ระหว่างภูมิภาค

วันอังคารที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2557

Part 5.2 - Groove Special Administrative {Final part}

Part 5.2 - Groove Special Administrative
          หลังจากปี 150 (Part 5.1 - Groove Special Administrative Click!) เขตปกครองพิเศษกรู๊ฟก็ได้พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วมีการสร้างรถไฟใต้ดินเพื่อเชื่อมต่อกับสนามบินนานาชาติกรู๊ฟเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว และดึงดุดการลงทุน โดยมีประชาชนราวๆ 111,666 คนและมีภาคธุรกิจ 189,781 เพิ่มขึ้น 64.24% จากปี 150 โดยรายได้ที่ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งมีรายได้สูงเป็นลำดับที่ 8 ของเมืองที่มีการยกเว้นภาษีธุรกิจและการพนันถูกกฎหมาย
ภาพแสดงรายได้ตลอดช่วง 90 ปี ที่ผ่านมา (100 - 190)
ภาพแสดงที่ตั้งของเขตปกครองพิเศษกรู๊ฟโดยอยู่บริเวณกลางอ่าวกรู๊ฟ
ภาพโปสเตอร์ฉบับแรกหลังจากการพัฒนาพื้นที่เสร็จ โดยเรือสื่อถึงการจราจรทางน้ำที่มีปริมาณมากในอาณาเขตแห่งนี้

วันอาทิตย์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2557

Part 5.1 - Groove Special Administrative

Part 5.1 - Groove Special Administrative 
         เขตปกครองพิเศษกรู๊ฟเป็นเขตปกครองที่ตั้งขึ้นมาเมื่อปี 100 ก่อน (ปัจจุบัน  เดิมก่อนหน้านั้นเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ กลางเกาะในอ่าวล้านช้าง ซึ่งต่อมาทางรัฐบาลวัลเลตตาได้มีการนำข้อมูลอัตราความเครียดและความสุขของประชากรในเขต NVRNW โดยพบว่าประชาชนมีความเครียดเพิ่มขึ้นทางรับบาลจึงมีแนวคิดที่จะก่อตั้งเขตอนุญาตการพนันและปลอดภาษีให้กับบริษัทต่าง ๆ โดยได้เลือกพื้นที่บริเวณเกาะกรู๊ฟโดยใช้งบประมาณกว่า 20,000 ล้านบาทในการดำเนินโครงการซึ่งกำลังหารือกันในเรื่องของแหล่งเงินทุน

กราฟแสดงอัตราความเครียดและความสุขของประชากรในเขต NVRNW (ที่มาข้อมูล : บริษัทรถไฟวัลเลตตาเหนือ {ด้านตะวันตกเฉียงเหนือ})
         จากกราฟจะเห็นได้ว่าประชาชนมีความเครียดเพิ่มมากขึ้นและมีความสุขน้อยลง

แผนแม่บท 100 ปีในการพัฒนาพื้นที่เขตปกครองพิเศษกรู๊ฟ
พื้นที่สีน้ำเงิน   คือพื้นที่สำหรับจัดสรรที่ดินให้กับประชาชนแต่จำกัดในด้านความสูงของสิ่งปลูกสร้างโดย
                        ไม่เกิน 200 เมตร
พื้นที่สีแดง       คือพื้นที่สำหรับเขตธุรกิจและกิจการคาสิโน่ที่ถูกกฏหมาย
พื้นที่สีเหลือง   คือพื้นที่สำหรับเขตที่อยู่อาศัยหนาแน่น
พื้นที่สีเทา        คือพื้นที่จัดสรรให้กับประชาชน


วันอังคารที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557

Special Part 4 - Orta San Giulio City

Special Part 4 - Orta San Giulio City
         โอลตา ซาน จูลิโอหรือเรียกสั้นว่า โอลตา เป็นเมืองหลวงของจังหวัดล้านช้าง ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการ และศาลประจำจังหวัด โดยประชากรในเมืองนี้มีประมาณ 23,000 คน ซึ่งเป็นบุคคลที่มีคุณภาพการศึกษาที่สูง จึงทำให้เมืองนี้เกิดอาชญากรรมต่ำถึงขั้นไม่เกิดขึ้นเลยทีเดียว...

ภาพมุมสูงของเมือง
ภูมิประเทศที่ตั้งอยู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ จึงได้ชื่อว่า "สุดพายัพที่โอลตา"
ถ่ายจากนกพิราบเจ้าเก่า
สถิติการเกิดอาชญากรรมต่ำเพราะเมืองแห่งนี้ต้องการควบคุมปลอดภัยเพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับจังล้านช้าง
ศูนย์ราชการจังหวัดล้านช้างมีตึกทั้งหมด 12 ตึกกับดูแลประชากรประมาณ 1,500,000 คนและบริษัท NVRNW ได้ขอเช่าพื้นที่ตึกไว้ควบคุมการเดินรถของสาขาจังหวัดล้านช้าง
ศูนย์ราชการยามค่ำคืนดูวังเวงและเงียบเหงา

ภาพนครกับบ้านพักราชการยามค่ำคืน ที่สร้างเต็มเมืองโดยมีรูปแบบตึกที่คล้ายกัน

โปรดติดตามตอนต่อไป...




วันเสาร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2557

Part 4 - Sao Paulo City

Part 4 - Sao Paulo City
         และแล้วก็เดินทางมาถึงตอนที่ 4 อย่าเพิ่งเบื่อกันก่อนนะครับ เรามาดูเมืองเซาเปาลูฉบับวัลเลตตากันเลย
       เมืองเซาเปาลูเป็นเมืองหลวงของจังหวัดซัลวาดอร์แห่งภูมิภาควัลเลตตา เป็นเมืองศูนย์กลางธุรกิจและการปกครอง ทำให้เมืองแห่งนี้มีตึกระฟ้ามากมายซึ่งส่งผลทำให้เกิดมลภาวะสูง ทางนายกเทศมนตรีจึงมีแนวคิดที่จะสร้างสวนกลางเมืองบริเวณริมแม่น้ำ Tietê ซึ่งจะเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวเมืองอีกทั้งยังส่งเสริมการท่องเที่ยวเพราะเมืองแห่งนี้เน้นการทำธุรกิจจึงมีสถานที่ท่องเที่ยวน้อยมาก รวมทั้งยังมีปัญหารถติดอีกด้วย เมืองแห่งนี้มีประชากรประมาณ 215,000 คน มีรถไฟสาย NVR Lanchang Main Line ผ่านโดยมีสถานีรถไฟลูฟส์เป็นสถานีหลักของเมือง เมืองเซาเปาลูถูกจัดอันดับว่าเป็นเมืองทีมีรถติดมาเป็นลำดับที่ 20 ของวัลเลตตา...

วิดีโอแนะนำเมือง
ภาพที่ใช้ในการโปรโมทเมืองในงานมหกรรมการเงินวัลเลตตาครั้งที่ 1
แผนที่แสดงที่ตั้งของเมือง
ภาพเมืองมุมสูงโดยจ้างนกพิราบขึ้นไปถ่าย ^-^


วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

Part 3 - Yosaka City

Part 3 - Yosaka City
          เมืองโยซะกะซิตี้เป็นเมืองที่เปรียบเสมือนประตูสู่จังหวัดล้านช้าง เป็นเมืองท่องเที่ยวของจังหวัดโดยมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญอาทิเช่น ปราสาทโยซะกะ,ตลาด Tsutenkaku,ย่าน Uneda และจุดชมวิวเหนือถนนทางด่วนโยซะกะ (NVRNWR 12)ที่แยกออกมาจากทางด่วน NVRNWR 1 Highway  ซึ่งเมืองแห่งนี้มีสถิติในการใช้รถไฟมากที่สุดในจังหวัด (390,000 คน ณ สถานีกลางยูซะกะ) จึงทำให้การเดินทางในเมืองแห่งนี้สะดวก รวดเร็ว และเกิดมลภาวะทางอากาศน้อยอีกด้วย....



ภาพโปสเตอร์โปรโมทการท่องเที่ยวครั้งที่ 1 ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองแห่งนี้ ซึ่งทำให้เมืองนี้โด่งดังไปทั่วจักรวาล

ภาพบนแผนที่จากดาวเทียมที่จ้างบริษัทรับทำจรวดส่งขึ้นไปถ่ายภาพ

ภาพมุมสูงที่ถ่ายจากเครื่องบินก่อนที่จะทำการแลนดิ้งลงที่ท่าอากาศยานนานาชาติกรู๊

วันศุกร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2557

Special Part 3 - Groove Tunnel

Special Part 3 - Groove Tunnel
          อุโมงค์กรู๊ฟถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับการเดินทางสู่เขตปกครองพิเศษกรู๊ฟ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการใช้สะพานมีโยที่มีการใช้สัญจรอย่างมากในปัจจุบัน โดยอุโมงค์กรู๊ฟนั้นเป็นอุโมงค์ลอดใต้ทะเลที่ยาวเป็นลำดับ 4 มีความยาวทั้งสิ้น 16 กิโลเมตร นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาพื้นที่สำหรับผู้ที่มีรายได้น้อยได้เข้ามาอยู่อาศัยอีกด้วย
ภาพมุมสูงที่ถ่ายได้จากเคร่ืองบินก่อนลงที่ท่าอาศยานนานาชาติกรู๊ฟ

ที่อยู่บนแผนที่

ภาพถ่ายทางอากาศ